โหวตนายก – สำรวจความเห็นชาวโซเชียล 65.7% อยากเห็น “พิธา” เป็นนายกฯ
ข่าวใหญ่ที่สุดของประเทศไทยในวันนี้ 13 ก.ค. 2566 เชื่อว่าคงหนีไม่พ้นเรื่องของ “การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30” ซึ่งเป็นประเด็นร้อนมาโดยตลอดนับตั้งแต่ผลการเลือกตั้ง 14 พ.ค. 2566 ออกมาว่า พรรคก้าวไกล ได้คะแนนเสียงมากเป็นอันดับ 1 และมี นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี
แต่เส้นทางการเป็นนายกของนายพิธาเต็มไปด้วยอุปสรรค โดยเฉพาะกรณีล่าสุดเมื่อที่ประชุม กกต. มีมติส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคุณสมบัตินายพิธาจากเหตุมีชื่อถือครองหุ้นสื่อไอทีวี
ประเด็นดังกล่าวเป็นที่ถกเถียงอย่างมากบนโลกโซเชียลมีเดีย จนเกิดแฮชแท็ก #กกตมีไว้ทำไม #ม็อบ12กรกฎาคม66 ขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์ ขณะที่ในวันนี้เมื่อวาระการโหวตนายกฯ เริ่มต้นขึ้น แฮชแท็ก #โหวตนายก #ประชุมสภา ก็เป็นเทรนด์หลักบนทวิตเตอร์
เป็นที่น่าสนใจว่า ความเห็นของผู้ใช้โซเชียลมีเดียซึ่งมีความหลากหลายอย่างมาก เป็นไปในทิศทางใดก่อนที่ขั้นตอนการลงคะแนนโหวตนายกฯ จะเริ่มขึ้นจริง ๆ ช่วงเย็นนี้ หรือ “อยากเห็นอะไร” ในการโหวตนายกฯ
ทางทีม Insight ของ บริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด จึงได้รวบรวมความคิดเห็นในสังคมออนไลน์ผ่าน DXT360 แพลตฟอร์มติดตามข่าวสารและเสียง (Social Listening) ระหว่างวันที่ 5-12 ก.ค. 2566 เพื่อสำรวจว่า โลกโซเชียลมีการพูดคุยในประเด็นใดบ้าง? หรือมีความคาดหวังต่อการเมืองและอนาคตของประเทศไทยอย่างไรก่อนการโหวตนายกรัฐมนตรี? โดยพบว่า:
- 65.7% – อยากเห็น 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล สนับสนุน “พิธา” เป็นนายกรัฐมนตรี
- 22.4% – เรียกร้อง ส.วคำพูดจาก ปั่นสล็อตแตกทุกเกม. เคารพเสียงประชาชน ให้ ส.ว. ทำหน้าที่และอำลาตำแหน่งอย่างภาคภูมิ
- 6.9% – เรียกร้อง ส.ส. ขั้วตรงข้าม เป็น ส.ส. ปลดแอก โหวตสนับสนุน “พิธา” แม้จะไม่ได้ร่วมรัฐบาลเพื่อปกป้องประชาธิปไตยให้เดินหน้า
- 3.0% – ยินยอมให้พรรคก้าวไกลถอย 1 ก้าว ไม่แก้ไขมาตรา 112 เพื่อให้ได้รับโหวตเป็นนายกรัฐมนตรี
- 1.0% – สิ้นหวัง ยอมให้เกิดรัฐบาลเสียงข้างน้อย 1 ปี จนกว่า ส.ว. หมดวาระ
- 1.0 % – ลากยาว “โหวตนายกฯ” ไปเรื่อย ๆ จนกว่าหมดวาระ ของ ส.ว.
จากการสำรวจครั้งนี้ สิ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ ความดุเดือดของการเมืองไทยครั้งนี้ ได้ทำให้ชื่อของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ กลายเป็นกระแสที่พูดถึงอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ในเชิงบวกหรือเชิงลบก็ตาม
ดาต้าเซ็ตพบว่า “พิธา” เพียงคนเดียว สร้างมูลค่าทางสื่อ (Media Value) บนเว็บไซต์ต่าง ๆ ไปแล้วกว่า 1,186 ล้านบาท และในฝั่งของโซเชียลมีเดียได้ทำให้เกิดการพูดถึง (Mention) และสร้างการเข้าถึง (Engagement) สูงถึง 5,019,891 ครั้ง เพิ่มขึ้นกว่า 73.4% ในระหว่างวันที่ 5–12 กรกฎาคมที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี ไม่ว่าเสียงโซเชียลจะเป็นไปในทิศทางไหน ก็เป็นเพียงความเห็น การคาดการณ์ และความต้องการของประชาชนบางส่วนเท่านั้น แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ๆ ยังคงต้องรอการลงคะแนนโหวตอย่างเป็นทางการ ซึ่งจะจบลงอย่างรวดเร็วหรือลากยาวออกไป จบลงแบบตรงใจประชาชนส่วนใหญ่หรือไม่ ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิดต่อไป